Britist vs. American English words

มีหลายคำมากเลยที่ใช้ต่างกัน ยกมาเป็น sample หรือลองเข้าไปดูตาม reference ข้างล่างก็ได้ค่ะ

BritishAmerican
motorwayfreeway
shopping centreshopping mall
toiletrest room
undergroundsubway
liftelevator
petrolgas, gasoline
roundabouttraffic circle
car parkparking lot
lorrytruck
trolleycart
chemist'sdrug store
taxicab
quid (= pound)buck (= dollar)
chequecheck
sweetdessert
sweetscandy
tapfaucet
wardrobecloset


Reference:
British vs. American English converter

Linking words


ConjuctionPrepositionAdverb
คล้อยตามand
or

not only ..., but also
and
or
besides
as well as
also

besides
in addition
additionally
moreover
furthermore
แสดงเหตุbecause
as
since
because of
due to
แสดงผลso
so ... that
such ... that



as a result of
consequently
accordingly
as a consequence
as a result
therefore
hence
thus
ergo
ขัดแย้งbut
while
whereas
although
though
even if
even though
despite
in spite of
notwithstanding
however
nevertheless
nonetheless

though
on the other hand

so ... that vs. such ... that
ความแตกต่างของการใช้ 2 อันนี้คือ
so + adj
such + adj + noun

เช่น
She was so tired that she fell asleep in the armchair.
It was such a foggy day that we couldn’t see the road.
แต่
We have had so many problems with the new line that we have decided to shut it down temporarily.

นึกม่ะออกแย้ว

ผัก - ผลไม้ ในภาษาอังกฤษ

เริ่มที่ผักกินใบกันก่อน
cabbage
- กะหล่ำปลี
cauliflower - กะหล่ำดอก
spinach - ผักขม
morning glory - ผักบุ้ง
lettuce - ผักกาด
Butterhead - ผักกาดชนิดหนึ่ง
Crisphead lettuce, Iceberg lettuce - ผักกาดแก้ว
Chinese kale - คะน้า
asparagus - หน่อไม้ฝรั่ง
bamboo shoot - หน่อไม้
parsley - ทับศัพท์ฮับ คำนี้

bean - ถั่ว
soybean - ถั่วเหลือง
bean sprouts - ถั่วงอก
almond ทับศัพท์เลยฮ้าบ

อันนี้กินผล
pumpkin - ฝักทอง
Wax gourd - ฝักเขียว
cucumber - แตงกวา
tomato - มะเขือเทศ
corn - ข้าวโพด

พืชหัว
carrot
- แครอล
potato - มันฝรั่ง
taro - เผือก
yam - มันเทศ
mushroom - เห็ด

เครื่องเทศ
lemon grass - ตะไคร้
Holy basil - กะเพรา
Sweet basil - โหระพา
celery - ขึ้นฉ่าย
ginger - ขิง
spring onion - ต้นหอม
garlic - กระเทียม
shallot - หอมแดง
onion - หอมใหญ่
chili - พริก
pepper - พริกไทย (vinegar - น้ำส้มสายชู)
Wax gourd - พริกหวาน
lime - มะนาวไทย
lemon - มะนาวฝรั่ง ลูกเหลืองๆ

ผลไม้บ้าง
apple ไม่ต้องแปลมั้งอันนี้
cherry - เชอรี่
strawberry - สเตอเบอรี่
blackberry
blueberry
plum (ผลแห้งเรียกว่า prune)
persimmon - พลับ
pear - แพร์ ลูกที่รูปร่างคล้ายชมพู่ แต่ว่าสีเหลืองๆ เนื้อนิ่มๆ ไม่ได้กรอบเหมือนชมพู่หรอกฮับ
peach - ทับศัพท์อีกเช่นเดียวกัน ลูกแดงๆ คล้ายๆ ลูกแอปเปิ้ล แต่ว่าเนื้อออกรสเปรี้ยว
nectarine - อันนี้คล้ายกะลูกพีชมากฮับ แต่ว่าผิวเรียบ ในขณะที่ peach จะมีขนๆ
grape - องุ่น
melon อันนี้ก็คงไม่ต้องแปลมั้ง
watermelon - แตงโม
orange - ส้ม
pomelo - ส้มโอ
papaya - มะละกอ
durian - ทุเรียน (เดิมเป็นภาษาอินโดฮับ ฝรั่งก็เรียกทับศัพท์เหมือนกัน)
mango - มะม่วง
mangosteen - มังคุด
guava - ฝรั่ง
rambutan - เงาะ
tamarine - มะขาม
jackfruit - ขนุน
coconut - มะพร้าว
starfruit - มะเฟือง
tamarind - มะขาม
longan - ลำไย
lichee - ลิ้นจี่
rose apple - ชมพู่
pineapple - สับปะรด
durian - ทุเรียน (คำนี้เป็นคำจากภาษาอินโด เราเองก็เรียกตามภาษาอินโดเหมือนกัน)

ยังมีอีกหลายอย่างที่ไม่รู้ว่าภาษาอังกฤษของมันคืออะไรเหมือนกันค่ะ เช่น มะกอก, มะดัน, มะเฟือง และอีกหลายๆ มะ ลองกอง นี่ก็ไม่รู้เหมือนกัน ใครรู้บอกกันด้วยเด้อ

Email: Pattern

คำขึ้นต้น
Formal email ใช้ Dear name, To name,
Informal email ใช้ Hi name, Helo name,

ประโยคขึ้นต้น ที่ใช้อ้างถึงอะไรสักอย่างเพื่อจะทวนความจำ หรือทำให้ผู้รับรู้ว่าเรากำลังจะพูดถึงอะไรต่อไป
Formal email ใช้

With reference to + noun, ...
With regards to + noun, ...
Regarding + noun, ...
I'm writing with regard to + noun เช่น I'm writing with regard to your recent email.
Further to + noun, ...
Thank you for + noun ... เช่น Thank you for email of 2 November.
As per your request, ... เช่น As per your request, I've attached a copy of the agenda.

Informal email ใช้

Re + noun, ... เช่น Re your email, ...
In reply to + noun, ... เช่น In reply to your email, ...
Thanks for + noun. เช่น Thanks for your email.
(It was) Nice to hear from you yesterday. ...
As requested, ... เช่น As requested, here is my monthly status report.

Request
I'd appreciated it if + sentence เช่น I'd appreciated it if you could join us in the meeting on Tuesday. เป็น indirect sentence ที่ทำให้นุ่นนวลขึ้น แต่ก็จะทำให้ฟังห่างเหินขึ้นด้วย
Do you think you could (possible) + verb เช่น Do you think you could help me work out how to fix this bug? (indirect)
Would it be possible to + verb เช่น Would it be possible to extend the deadline until next Friday?
Could you (please) + verb เช่น Could you meet with everyone for a meeting on Tuesday? (สำหรับ routine request คือ คำขออันที่เป็นหน้าที่รับผิดชอบของเค้า หรือเป็นคำขอปกติ ควรละ please ไว้ เนื่องจากไม่ควรใช้ flowery language มากเกินไป ซึ่งจะทำให้เข้าใจผิดว่าเป็นการประชดประชันได้)
Would you mind + Ving เช่น Would you mind sending me another copy of the agenda?
Please + verb

Attachment
Please find attached my report (ระวัง attached ก็เป็นช่อง 3)
I have attached sth. for your perusal.
I have attached sth.

Thank you
I really appreciate + noun เช่น I really appreciate your help.
I appreciate + noun เช่น I appreciate your help on this.
Thank you for + noun เ่ช่น Thank you for your assistance in this matter. หรือ Thank you for your help.
Thank you.
Thanks.


Diplomatic สำหรับกรณีที่มีความผิดพลาด ไม่ว่าจะเป็นของเรา หรือของเค้า ก็ควรเขียนอย่างสุภาพ คือเราจะไม่บอกตรงๆ นะเอง
I'm afraid + sentence เช่น I'm afraid that we haven't received the payment yet. หรือ I'm afraid there will be a small delay.
It seems + sentence เช่น It seems we have a slight problem. (แปลว่า เรามี problem นะเอง)
I think + sentence เช่น I think there may be an issue here. (แปลว่า เราไม่เห็นด้วย)
To be honest, I'm not sure + sentence เช่น To be honest, I'm not sure we can do that (แปลว่า เราไม่สามารถทำแบบนั้น อาจจะเราทำไม่ได้ หรือเราไม่ทำ ก็ได้)
Perhaps we should think about + Ving - ออกแนวชักชวน ของแนวร่วม เช่น Perhaps we should think about cancelling the project. (แปลว่า อยากจะ cancel แหละ แต่บอกว่า ลองคิดดูมั้ย สำหรับ cancel นี้ประหลาดค่ะ สำหรับ British ใช้ cancelling เป็น ll แต่ American ใช้ canceling ก็นะ อยู่ที่เราจะใช้ตามหลักของอะไร)
Wouldn't it be better to + verb เช่น Wouldn't it be better to ask Paul. (แปลว่า ไปถาม Paul ซะ ไป๊)
Unfortunately, + sentence - ออกแนวโทษโชคชะตา ซะงั้น ไม่มีใครผิดหรอก
I apologize for + noun เช่น I apologize for any inconvenience caused. อันนี้ขอโทษกันตรงๆ (อย่าลืมว่า caused ข้างหลังเป็นช่อง 3 นะค่ะ)

หรือ ตัวอย่างประโยคอื่นๆ เช่น
Actually, that doesn't give us much time (แปลว่า เรามีเวลานิดเดียวเอง จริงๆ นะ)
That might be quite expensive. (แปลว่า That's very expensive แต่บอกอ้อมๆ ว่า น่าจะแพงทีเดียวนะ -- ตอแหลจริงๆ)

For future contact
I look forward to + Ving เช่น I look forward to receiving your reply.
Look forward to + Ving เช่น Look forward to seeing you next week.
I'm looking forward to + Ving เช่น I'm looking forward to seeing you in the meeting สำหรับการใช้ looking แทน look เป็นการแสดงว่ากำลัีงใจจดใจจ่อ รอจะพบคุณอยู่นะ มันเห็นภาพมากกว่า look เฉยๆ
Looking forward to + Ving เช่น Looking forward to hearing from you.
I hope to + verb เช่น I hope to hear from you soon.
Hope to + verb เช่น Hope to see you then. (informal)
See you then. (informal)

If you would like any additional information, please do not hesitate to contact me.
If you have any questions/queries, please feel free to contact me.
If you have any questions/queries, please feel free to let me know.
(informal)
Let me you if you require any further information.

คำลงท้าย
Sincerely yours,
Best regards,
Regards,
Cheers, (informal)

Pronunciation: -s, -es

สำหรับคำนามพหูพจน์ในภาษาอังกฤษจะเติม -s หรือ -es ต่อท้าย ขึ้นอยูกับว่า คำลงท้ายด้วยอะไร

คำที่ลงท้ายด้วย -zz, -ss, -ch, -sh จะต้องเติม -es
คำที่ลงท้ายด้วยตัวอื่นๆ สามารถเติม -s อย่างเดียว

นอกจากนั้นแล้ว คำกริยาที่ใช้กับประธานเอกพจน์ซึ่งต้องเติม -s หรือ -es ก็สามารถใช้กฎเดียวกันได้

แต่การ pronunciation สำหรับที่เติม -s หรือ -es แบ่งเป็น 3 ประเภท พยายามใช้ฟังจากเสียงท้ายของคำนั้นๆ เพราะการดูจากคำลงท้ายเป็นแค่แนะนำเท่านั้น ไม่ได้เป็นกฎตายตัว ดังนี้

/iz/
ส่วนใหญ่เป็นคำที่เมื่อเติม -s หรือ -es แล้วทำให้กลายเป็นคำที่ลงท้ายด้วย -es ยกเว้นอยู่บางคำ เช่น clothes, gloves แม้ว่าจะลงด้วย -es แต่ว่าอยู่ในกลุ่มที่สองค่ะ ไม่ใช่กลุ่มนี้ ดังนั้นการฟังจากเสียงท้ายจึงดีกว่าดูด้วยคำลงท้าย ซึ่งคำในกลุ่มนี้จะมีเสียงแบบที่เรียกว่า hissing หรือ buzzing sound ตอนลงท้าย




เสียง 1 เป็นกลุ่มคำเสียงท้ายเป็น -s, -ss เช่น buses, misses, passes
เสียง 2 เป็นกลุ่มคำเสียงท้ายเป็น -zz, -ze, -se เช่น buzzes, sneezes, refuses
เสียง 3 เป็นกลุ่มคำเสียงท้ายเป็น -sh เช่น crashes, pushes, washes, wishes
เสียง 4 เป็นกลุ่มคำเสียงท้ายเป็น -ch เช่น catches, churches, watches
เสียง 5 เป็นกลุ่มคำเสียงท้ายเป็น -ge, -j เช่น lodges, messages

/z/
เป็นคำที่ลงท้ายด้วย voiced sound หรือตัวลงท้ายมีเสียงตอนออกเสียง อาจจะฟังงงๆ นิดนึง แต่ว่านี้เป็นหลักใหญ่ๆ เลย เพราะสำหรับคำที่ลงท้ายไม่ออกเสียงจะอยู่ในกลุ่มถัดไป




เสียง 1 เป็นกลุ่มคำเสียงท้ายเป็น -b เช่น pubs, labs
เสียง 2 เป็นกลุ่มคำเสียงท้ายเป็น -d เช่น words
เสียง 3 เป็นกลุ่มคำเสียงท้ายเป็น -g เช่น pigs
เสียง 4 เป็นกลุ่มคำเสียงท้ายเป็น -v เช่น knives, gloves, loves
เสียง 5 เป็นกลุ่มคำเสียงท้ายเป็น -the เช่น bathes
เสียง 6 เป็นกลุ่มคำเสียงท้ายเป็น -l เช่น bells, bills, walls
เสียง 7 เป็นกลุ่มคำเสียงท้ายเป็น -m เช่น times, rooms
เสียง 8 เป็นกลุ่มคำเสียงท้ายเป็น -n เช่น tins, sons, turns
เีสียง 9 เป็นกลุ่มคำเสียงท้ายเป็น -ng เช่น brings, kings, things
เสียง 10 เป็นกลุ่มคำที่ลงท้ายด้วย vowel sound เช่น bottles, boys, lies, ways, cars


/s/
กลุ่มสุดท้าย ก็คือคำที่ลงท้ายด้วย voiceless sound



เสียง 1 เป็นกลุ่มคำที่เสียงท้ายเป็น -p เช่น envelopes, tops, lips, cups
เสียง 2 เป็นกลุ่มคำที่เสียงท้ายเป็น -t เช่น boats, dates, cats
เสียง 3 เป็นกลุ่มคำที่เสียงท้ายเป็น -k เช่น clocks, desks, walks
เสียง 4 เป็นกลุ่มคำที่เสียงท้ายเป็น -f เช่น laughs (ไม่ต้องแปลกใจนะค่ะ คำนี้ลงท้ายด้วย gh ก็จริง แต่ว่าเป็นเสียง /f/)
เสียง 5 เป็นกลุ่มคำที่เสียงท้ายเป็น -th เช่น baths, tenths


Reference:
BBC - The Flatmates - Language Point: Pronouncing 's'
The sounds of English and the International Phonetic Alphabet

Phrasal Verb

Phrasal verb ง่ายๆ เลยนะ เป็น verb แต่ว่าประกอบด้วยคำมากกว่า 1 คำ โดยส่วนใหญ่ก็จะเป็น 2 คำ คือ verb + preposition แต่ที่สำคัญก็คือความหมายของมันจะเปลี่ยนไปจาก verb ตัวเดิม แล้วก็อาจจะทำให้เราสับสนอยู่บ่อยๆ ใน BBC จะแบ่งเป็น 4 ประเภท แต่เราขอแ่บ่งตามสไตร์ลเราละกันนะ ได้ 3 ประเภท

ประเภทที่ 1: intransitive verb ก็คือ phrasal verb ที่ไม่ต้องมีกรรมมารับ

ร่วมรวบมาให้เท่าที่รู้นะค่ะ
break up (with sb.) - to end a relationship with somebody ใ้ช้ได้ทั้งเป็น intransitive และ transitive
carry on (with sth) คือให้ทำ sth ต่อไป
calm down - ทำให้สงบ
find out - to get some information about sth./sb. by asking, reading, etc. เช่น She'd been seeing the boy for a while, but didn't want her parents to find out.
go down - to fall to the ground เช่น Our group turnover's gone down again.
hang on - to wait for a short time or stop what they are doing เช่น Hang on. I'm not quite ready
hold on - used to tell sb to wait or stop เช่น Hold on a minute while I get my breath back.
keep on - to continue to do something or to do something repeatedly เช่น The rain kept on all night.
let on (to sb.) (about sth.) - เปิดเผยความลับ เช่น No-one let on about the party, so she was really surprised. หรือ I'm getting married next week, but please don't let on to anyone.
pack up - (informal BrE) to stop working เช่น His lungs pack up แปลว่า ปอดเค้าทำงานไม่ได้แล้ว
pick up - to get better, stronger; to improve เช่น The wind is picking up now.
run out (of sth) แปลว่า หมดเหมือนกันก็ได้ เช่น The water ran out. ใช้ได้ทั้งมีกรรมและ ไม่มีกรรมตาม
stand around - stand somewhere and not do anything อ่านแล้วน่าจะเข้าใจได้เลยนะค่ะ ตัวอย่างประโยค I don't have time to stand around waiting for you.
settle down - ลงหลักปักฐาน เช่น They finally decided to settle down in Mexico.
stand down - ถอนตัว(จากตำแหน่ง) ตาม dictionary จะแปลว่า to leave a job or position เช่น He stood down to make way for someone younger.
stand out - โดดเด่น เป็นที่สังเกต เช่น The lettering stood out well against the dark background หรือ She's the sort of person who stands out in a crowd.
start off - begin เช่น The discussion started off mildly enough.
take off - คำนี้ แปลได้เยอะมากเลยค่ะ ใช้ได้ทั้งมีกรรมและไม่มีกรรม ซึ่งความหมายก็จะต่างกันออกไป ถ้าใช้แบบไม่มีกรรม (1) สำหรับประธานที่เป็นเครื่องบินก็จะแปลว่า เครื่องบิน(ทะยาน)ขึ้น (2) ถ้าใช้กับคน ก็แปลว่า ออกจากที่นั่น โดยกระทันหัน ทันทีทันใด (3) หรือถ้าใช้กับอย่างอื่น อาจจะแปลได้ว่าประสบความสำเร็จ (ประหนึ่งว่ากำลังทะยานพุ่งไป ประมาณนั่น) เช่น Her singing career had just begun to take off. หรือ The plane took off at 8.30 a.m. หรือ When he saw me, he took off in the other direction. เดาดูเอานะค่ะว่า ประโยคไหนใช้แปลว่าอะไรบ้าง
take up - แปลว่า เริ่มทำ บางสิ่งบางอย่าง สำหรับกรณีที่ไม่มีกรรม เช่น The band's new album takes up where their last one left off.
turn off - to stop listening to or thinking about หรือว่าเลิกสนใจ เช่น I couldn't understand the lecture so I just turned off.

ประเภทที่ 2: transitive verb ก็คือต้องมีกรรมมารับ และกรรมนั้นสามารถใส่ไว้ระหว่าง verb และ preposition หรือว่า ใส่ไว้ต่อท้าย preposition เลยก็ได้

เช่น
break sth.<-->off - to end sth. suddenly เช่น We shall have to break off these negotiations.
bring sth.<-->out - make sth. appear, produce sth., publish sth. เช่น Sony are bringing out a new product in December
build sth.<-->up - to create or develop sth เช่น We're trying to build up market share.
calm sb.<-->down - ทำให้สงบ คำนี้สามารถใช้เป็นแบบ ประเภทที่ 1 คือไม่ต้องมีกรรมก็ได้ ตัวอย่างสำหรับที่มีกรรม เช่น He took a few deep breaths to calm himself down.
call sth.<-->off - cancel เช่น They have called off their engagement (อันนี้เป็นตัวอย่างที่กรรมต่อท้าย แต่สามารถใช้สลับกันก็ได้ อย่างที่บอกไปแล้ว)
carry sth.<-->out - to do and complete a task เช่น We're carrying out tests on the system now.
cut sth.<-->down - ลด เช่น We need to cut the article down to 1000 words.
cut sth.<-->off - remove sth. from sth larger by cutting ก็คือเหมือนตัด(น้ำ, ไฟ) เช่น I cut off the water. หรือว่า I cut the water off. ก็ได้
draw sth.<-->up - to make or write sth what needs careful thought or planing
fix sth.<-->up - arrange เช่น We really must fix up a meeting to discuss on our pricing strategy.
go sth.<-->up - to be build เช่น New office buildings are going up everywhere.
keep on (doing sth)
- นอกจากจะใช้แบบไม่มีกรรมได้แล้ว สามารถมีกรรมเป็นการกระทำ ซึ่งหมายถึงทำสิ่งนั้นต่อไป หรือทำซ้ำๆ เช่น The interviewer kept on asking her about her marriage to Paul McCartney.
keep sth.<-->up - to continue sth at the same, usually high, level เช่น It's important to keep your spirits up จริงๆ แล้ว keep up มีความหมายเยอะแยะมากมายเลย มีทั้งที่เป็น intransitive และ transitive
lay sb.<-->off - เลิกจ้าง
let sb.<-->down - to disappoint somebody by failing to do what you were expected to do, or promised to do. เช่น This machine won't let you down. หรือ He trudged home feeling lonely and let down.
open sth.<-->up - มีได้สองความหมายค่ะ (1) เปิดตัวให้ใช้ได้ เช่น The new catalogue will open up the market for our products. (2) ใช้สำหรับการเปิดร้าน เปิดดำเนินการธุระกิจ เช่น Tim would love to open up a little shop.
pick sth.<-->up - to get information or a skill by chance rather than making a deliberate effort ง่ายๆ เลย ก็คือ สามารถเข้าใจได้อย่างโดยไม่ต้องพยายาม ก็หมายถึงว่าเราอาจจะมีความสามารถทางด้านใดด้านหนึ่งทำให้เราสามารถเข้าใจได้ โดยไม่ต้องพยายามเลย
เช่น You picked up English easily. หรือ You picked English up easily. ก็แปลว่าคุณสามารถเข้าใจภาษาอังกฤษได้อย่างรวดเร็วโดยไม่ต้องพยายามเลย (อยากเป็นได้แบบนี้มั้งจัง)
put sth.<-->off - เลื่อนไป We've had to put off our wedding until September.
put sth.<-->on - to dress yourself in sth.
put sth.<-->up - to raise sth. or put it in a higher position เช่น to put up a flag
see sb.<-->off - to go to a station, an airport, etc. to say goodbye to sb. who starting a journey เช่น I'll see you off tomorrow, so I can drive you to the airport. นอกจากนี้ยังแปลว่า to force somebody to leave a place, for example by chasing them เช่น The dog saw them off in no time. หรือ The caretaker ran out and saw off the boys who had been damaging the fence.
set sth.<-->up - จัดตั้ง
sort sth.<-->out - to deal with sb.'s own problem in a satisfactory way เช่น Have you managed to sort out the problem with out computers?
take sth.<-->off - สำหรับ take off ที่มีกรรม จะแปลว่า ถอดออก ซึ่งตรงกันข้ามกับ put on ที่แปลว่า ส่วนใส่ เช่น He took off his clothes and got into the bath. นอกจากนี้ก็ยังแปลว่า ถอดถอน เมื่อใช้กับคน หรือสิ่งของอย่างอื่น เช่น The officer leading the investigation has been taken off the case.
take sth.<-->up - สำหรับกรณีที่มีกรรม ก็หมายถึงเริ่ม เ่ช่นกัน โดยใช้กับงานอดิเรก กีฬา หรืองาน เช่น He takes up his duties next week. หรือ They've taken up golf.
tidy sth.<-->up - จัดการให้สะอาด เรียบร้อย ประมาณนี้ค่ะ เช่น I tidied up the report before handing it in. หรือใช้กับการจัดห้อง ก็ได้ เช่น I need to tidy up the kitchen
turn sb.<-->down - ปฏิเสธ เช่น Why did she turn down your invitation? หรือนอกจากนั้นจะแปลว่า ลด (เสียง, ความร้อน, ฯลฯ) เช่น Could you please turn the volumn down?
turn sth.<-->off - ปิด เช่น ปิดไฟ ปิดน้ำ ปิดแก๊ส โดยการหมุนสวิทชต์ ตัวอย่างประโยคเช่น I turned off the water. หรือว่าจะใช้ I turned the water off. ก็ได้
แต่ถ้าเราใช้ turn off กับ คน เช่น This song really turned me off จะแปลว่า เพลงนี้น่าเบื่อ ไม่น่าสนใจ

สำหรับคำในประเภทนี้เมื่อใช้ pronoun เป็นกรรม จะต้องใช้แบบแยก verb กับ preposition เสมอ เช่น
I turned if off.
I cut if off.
I pick it up easily.

จะใช้แบบ I pick off it. ไม่ได้

ประเภทนี้จะใกล้เคียงกับประเภทที่ 3 มาก บางคำคิดว่าเป็นความนิยมที่คนส่วนใหญ่ มักใช้คำในประเภทที่ 2 แบบวาง object ไว้ระหว่างกลางมากกว่า ทำให้แยกได้ค่อยข้างลำบาก จนบางครั้งก็สับสนอยู่เหมือนกัน ถ้าใส่คำไหนผิดถูก ก็ช่วยส่งมาบอกด้วยก็จะเป็นพระคุณนะค่ะ เป็นวิทยาธานสำหรับคนอื่นๆ ด้วย แต่สำหรับที่เขียนไว้นี้จะยึดตาม dictionary เป็นหลักค่ะ

ประเภทที่ 3: transitive verb ก็คือต้องมีกรรมมารับ และกรรมนั้นจะต้องวางไว้ระหว่าง verb และ preposition เท่านั้น

เช่น
ask sb. out - to invite someone to something, such as dinner or the theatre, for a romantic date. เช่น He felt nervous about asking her out.
stand sb. up - to deliverately not meet somebody you have arranged to meet, especially somebody you are having a romantic relationship with. เช่น I waited for her for half an hour before I realised she had stood me up.

ประเภทที่ 4: transitive verb เหมือนกันแ่ต่ว่า กรรมจะต้องอยู่ท้าย preposition เท่านั้นไม่ว่ากรรมนั้นจะเป็น noun หรือ pronoun

เช่น
break up (with sb) - to end a relationship with somebody ใ้ช้ได้ทั้งเป็น intransitive และ transitive
carry on (with sth) คือให้ทำ sth ต่อไป ในกรณีที่มีกรรมมารับ ก็เช่น Carry on with your job.
cheat on sb - to have a secret sexual relationship with somebody else (นอกจากสามี ภรรยา แฟน) เช่น He's cheating on his wife.
come down with sth - แปลว่า ไม่สบาย แต่ไม่มากนัก เช่น I think I'm coming down with flu.
count on sb - to trust sb. to do sth. or to be sure that sth will happen. เช่น I'm counting on you to help me.
cut down (on sth) - ความหมายเดียวกับ cut sth. down ในประเภท 2 ฮับ คือลดลง เช่น She's trying to cut down on cigarettes.
fall for sb - to be strongly attracted to somebody, to fall in leve with somebody เช่น He fell for her on the first date.
get over sth - แปลว่า overcome หรือ return to your usual state of health ก็ืคือหายป่วย นะเอง เช่น When he gets over the flu, he'll go back to work.
go out with sb - to have a romantic relationship with somebody เช่น Tom has been going out with Kate for six weeks
keep off sth - to prevent sth. เช่น Keep off the grass. ก็แปลว่า ห้ามเหยียบ นะเอง
move on (to sth) - to start doing or discussing sth. new. ซึ่งปกติจะใช้ เป็น move on to sth เช่น Let's move on to next topic.
point out sth - to mention sth. in order to give sb. information about it or make them notice it เช่น He pointed out the danger of driving alone.
run out (of sth) แปลว่าหมด เช่น We run out of water.
stand for sth. - ทนกับ(บางสิ่งบางอย่าง) หรือ ยอมปล่อยให้เกิดขึ้น เช่น You're bully and I won't stand for it any longer!
stand for sth - ย่อมาจาก (เป็นอีกความหมายหนึ่ง) เช่น FAQ stands for 'Frequently Asked Questions'.
stand over so - stand very near someone and watch them very closely ไม่รู้จะแปลว่าภาษาไทยให้ง่ายได้ยังไงจริงๆ อ่านภาษาอังกฤษเอา แล้วน่าจะเห็นภาพมากกว่านะค่ะ อ่านแล้วนึกถึงเจ้านายเลยอ่ะ I feel very creepy every time my boss stand over me.
stand up to sb - เผชิญหน้ากับ(บางคน) เช่น He tried to stand up to his boss.
start off at sb (about sth) | start off (at sb) about sth - เริ่มที่จะบ่น เช่น She started on at me again about getting some new clothes.
take on sth - to decide to do sth; to agree to be responsible for sth. คือ ตัดสินใจที่จะรับหรือรับผิดชอบสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เช่น I can't take on any extra work.
think of sth - imagine an actual or a possible situation เช่น I'm thinking of leaving the company. (คิดจริงๆ นะเนี้ยะ เซ็งชีวิต)
watch out (for sth) นอกจากจะใ้ช้เป็นประโยคดุ้นๆ แล้ว ก็สามารถแปลว่า to make an effort to be aware of what is happening เช่น The cashiers were asked to watch out for forged banknotes.
work on - busy doing sth เช่น I'm working on new project. หรือ I'm working on it.


แต่ phrasal verb บางตัวสามารถเป็นได้มากกว่า 1/ ประเภท เช่น
phrase ที่เป็น intransitive ก็สามารถทำให้เป็น transitive ได้ แต่จะต้องมี preposition ต่อท้าย ก่อนหน้ากรรมที่จะมารับ
carry on สามารถใช้เป็น intransitive verb ก็ได้ แปลว่าทำที่ทำอยู่ต่อไป หรือ carry on with sth ก็ได้ คือให้ทำ sth ต่อไป เช่น Carry on with your job. ก็คือเป็นประเภทที่ 1 และ 3
run out นี่ก็เหมือนกันค่ะ เป็น intransitive verb ก็ได้ หรือว่าจะเป็น transitive แบบที่ต้องมีกรรมต่อท้าย ใช้เป็น run out of sth ก็ได้ เช่น The water ran out. หรือ We run out of water.
watch out นอกจากจะใ้ช้เป็นประโยคดุ้นๆ แล้ว ก็สามารถแปลว่า to make an effort to be aware of what is happening โดยใช้ watch out for เช่น The cashiers were asked to watch out for forged banknotes.

หรือบางคำที่เป็น transitive แต่เมื่อเป็น intransitive แล้วจะมีความหมายต่างออกไป
turn off สามารถใช้เป็น intransitive ได้เหมือนกัน จากการเปิด dict นะค่ะ แต่ไ่ม่ได้แปลว่าปิด แต่แปลว่า to stop listening to or thinking about หรือว่าเลิกสนใจ เช่น I couldn't understand the lecture so I just turned off.
pick up นี่ก็ใช้เป็น intrasitive ก็ได้เหมือนกัน แปลว่า to get better, stronger; to improve เช่น The wind is picking up now.

คำอื่นๆ ที่สามารถเป็นได้ทั้งสองหมดก็มีอีก แต่ได้รวบรวบไปลงในแต่ละหมวดไว้ให้เลยค่ะ

Reference:
BBC - The Flatmates - Language Point: Phrasal Verb 2
Phrasal verbs - up and down